โรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบ  หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกัน ในชื่อโรครำมะนาด เป็นโรคที่เกิดขึ้นในช่องปากอาจพบได้บ่อยแต่ไม่รุนแรง ซึ่งเกิดอาการระคายเคือง บวมแดง อักเสบเป็นหนองที่เหงือก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่รุนแรง  คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยใส่ใจที่จะระมัดระวังและดูแลรักษา  สุดท้ายแล้วอาจจะนำไปสู่การสูญเสียฟันได้

สาเหตุของเหงือกอักเสบ

ส่วนใหญ่เกิดจากการดูแลรักษาทำความสะอาดภายในช่องปากได้ไม่ดีพอ จนทำให้เกิดคราบพลัคขึ้น ซึ่งปกติแล้วเราไม่สามารถมองเห็นคราบนี้ได้  คราบพลัค คือคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน เมื่อมาจับอยู่ที่ฟันนานกว่า 2-3 วัน จะทำให้เกิดคราบหินปูนปรากฎอยู่ตามร่องเหงือก ซึ่งหินปูนก็สามารถก่อตัวเองขึ้นมาได้จากน้ำลายของเรา ดังนั้นยิ่งมีคราบพลัคและหินปูนอยู่ที่ฟันนานมากขนาดไหน เหงือกก็จะเกิดการระคายเคืองตามมา ถ้าปล่อยให้เป็นไประยะหนึ่ง เหงือกก็จะเกิดอาการบวมแดงและมีเลือดออก และในที่สุดก็กลายเป็นเหงือกอักเสบ

อาการของเหงือกอักเสบ

เหงือกที่สุขภาพดีนั้นจะต้องมีสีชมพูอ่อนและมีความแข็งแรง  ถ้าหากพบว่าเหงือกมีลักษณะดังต่อไปนี้ก็อาจคาดเดาได้ว่าเป็นโรคเหงือกอักเสบ อาการเหงือกบวม มักมีเลือดออกเวลาแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน เหงือกจะเปลี่ยนจากสีชมพูอ่อนเป็นสีแดงเข้ม ยิ่งเวลาที่กินอาหารที่มีรสเค็มจัด พวกปลาร้า กะปิ จะรู้สึกเจ็บปวด และเป็นหนองได้ง่าย การรับรสของลิ้นจะเปลี่ยนไป มีกลิ่นปาก และฟันโยก

การรักษาเหงือกอักเสบ

เมื่อเราสังเกตุพบว่ามีอาการต่างๆตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว เพื่อควบคุมอาการและป้องกันการลุกลามของโรคเหงือกอักเสบ ไม่ให้กำเริญถึงขั้นรุนแรงจนต้องสูญเสียฟัน ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อไปรับการรักษาและแนะนำวิธีการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี 

โดยเบื้องต้นทันตแพทย์จะทำความสะอาดช่องปากเพื่อกำจัดคราบพลัคและหินปูนให้ก่อน หลังจากนั้นจะสอนเทคนิคการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกต้อง ในกรณีที่ทันตแพทย์วินิจฉัยอาการของโรคว่ากำเริบหนักแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยวิธีการเกลารากฟันและอื่นๆต่อไปตามดุลยพินิจแพทย์

การป้องกันเหงือกอักเสบ

การป้องกันโรคเหงือกอักเสบที่ดีที่สุด คือ เราต้องทำสนใจรักษาสุขภาพอนามัยของช่องปากอย่างถูกต้อง โดยทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟัน ครั้งละประมาณ 3-5 นาที มีบางงานวิจัยแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟันก่อนการแปรงฟันเพราะช่วยให้กำจัดเศษอาหารและแบคทีเรียที่ต้องค้างได้ดีกว่าใช้หลังแปรงฟัน และควรหาเวลาไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน เพื่อให้ตรวจเช็คสภาพช่องปากและขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอ

 

สนับสนุนโดย  แทงหวยออนไลน์